ธรรมชาติส่งสัญญาณเตือน โลกวิกฤต ธุรกิจ สังคม ต้องปรับทิศทางใช้เทคโนโลยีจากพลังงานสะอาด หนึ่งไฮไลท์สำคัญใน SETA 2024 และ SustainAsia Week 2024 มหกรรมพลังงานและเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่แห่งเอเชีย


ภาวะโลกเดือดนับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น สภาพอากาศที่ร้อนจัดไม่เพียงแต่กระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ แต่ยังกระทบไปถึงทรัพยากรธรรมชาติ ที่อยู่อาศัยของสัตว์ ตลอดจนปัญหาสังคม เศรษฐกิจอื่น ๆ ตามมา ภายในงานสัปดาห์แห่งความยั่งยืน SETA 2024 และ SustainAsia Week 2024 เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2567 ที่ฮอลล์ EH100 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Low Carbon & Sustainable ASEAN Economy” ได้มีการเสวนาให้ความรู้ถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ ณ ขณะนี้ รวมถึงการแชร์ความก้าวหน้าของนวัตกรรมและเทคโนโลยี พลังงานสะอาดที่จะเข้ามาช่วยกอบกู้โลก 

เริ่มจากเวที Knowledge Hub มีการพูดถึงหัวข้อ “Leave Carbon Behind, Not People” ซึ่งเนื้อหาหลักเป็นเรื่องของการทิ้งคาร์บอนไว้ครั้งหลัง จากวิทยากร และผู้มีบทบาทในการพัฒนาความยั่งยืน ดังนี้ 

กทม.ปรับเส้นเลือดฝอยในเมืองใหญ่

นายพรพรหม ณ.ส.วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้บริหารความยั่งยืนกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงนโยบายและการดำเนินการด้านโครงการสร้างพื้นฐานสีเขียวกรุงเทพมหานครว่า การปล่อยก๊าซมลพิษ หรือการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ของกรุงเทพมหานคร มาจาก 4 ส่วนหลักๆ อย่างแรกคือเรื่องพลังงาน ซึ่งมากที่สุด ปล่อยกว่า 60% อีก 30% มาจากขนส่ง ที่เหลือเป็นเรื่องของขยะและน้ำเสีย โดยเราก็มีมาตรการจำกัด 4 ด้าน โดยโฟกัสที่พลังงานและขนส่ง วิสัยทัศน์ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีแนวทางการบริหารเมืองและกรุงเทพมหานคร ซึ่งการบริหารเมืองเปรียบเสมือนร่างกาย ที่มีส่วนประกอบของเส้นเลือดหลัก และเส้นเลือดฝอย 

ซึ่งถ้าดูเรื่องการขนส่งเส้นเลือดของกรุงเทพนั้น เรามีระบบขนส่งที่เป็นรถไฟฟ้าทั้งบนดินใต้ดินหลากหลายสายภายในปี 2028 คาดว่าเราจะมีรถไฟฟ้า 11 สาย รวมกว่า 300 สถานี ซึ่งมีการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดูแลเรื่องนี้ ส่วนหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร คือการทำให้คุณภาพชีวิตคนดีขึ้น เรามีบทบาทในการปรับผังเมืองที่เป็นเส้นเลือดฝอย ไม่ว่าจะเป็นฟุตบาท ทางเดินเท้า หรือเลนจักรยาน เพื่ออำนวยความสะดวกประชาชน ก็จะมีการปรับทางเดินที่สามารถหลบแดดหลบฝนได้ 

นอกจากนั้นยังมีนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่สีเขียว ป่าในเมือง และ ‘สวน 15 นาที’ ในชุมชนต่าง ๆ รวมถึงเรื่องของการสนับสนุนด้านพลังงานแสงอาทิตย์ ติดตั้งโซล่าตามสำนักงานเขต โรงเรียน ฯลฯ และพลังงานสะอาดที่เกี่ยวข้องกับขยะ ซึ่งเรามีเตาเผา 500 ตันต่อวัน อีก 2 ปี (2559) สร้างเสร็จจะมีเตาเผา 2,500 ตันต่อวัน รวมทั้งหมดเป็นพลังานสะอาด 70 เมกกะวัตต์ และพิจารณาทำอีกโรงคือ 1,000 ตันต่อวัน เมื่อก่อนฝังกลบค่อนข้างเยอะเกินกว่า 50% ถ้าเตาเผาเปิดแล้ว ปี 2569 ก็จะลดการฝังกลบเหลือเพียง 20% 

ธรรมชาติเริ่มส่งสัญญาณเตือน

คุณวิลาวัณย์ ปานยัง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็มเอ็มยู จำกัด กล่าวว่า ขณะนี้ธรรมชาติเริ่มส่งสัญญาณเตือนถึงโลก ยกตัวอย่างเช่น ที่ดูไบ เป็นประเทศที่แห้งแล้ง ตอนนี้กำลังเผชิญกับปัญหาฝนตกบ่อยมากขึ้น เกิดเหตุการณ์น้ำท่วม หรือปรากฏการณ์หญ้าทะเลเริ่มตายจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น ซึ่งหญ้าทะเลมีความสำคัญต่อการช่วยดูแลระบบนิเวศ หรือปะการังที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเล ตอนนี้เกิดการฟอกขาวจากอุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้น เมื่อบ้านของสัตว์ทะเลเสียหาย นอกจากเขาจะไม่มีบ้านสำหรับอยู่อาศัยแล้ว สุดท้ายอาจเสี่ยงตายและสูญพันธุ์ 

“โลกก็เหมือนตัวมนุษย์ ที่อยากจะลดความอ้วน กินอาหารเพื่อสุขภาพ แต่ที่ผ่านมาเรากินแต่ Junk Food ทำให้หลายประเทศต้องมีนโยบายในการดูแลรักษาสุขภาพต่างกัน แต่มีสองเรื่องหลัก ๆ ที่เราต้องเดินหน้า คือ Carbon Neutrality ก็คือลดน้ำหนักให้ได้สมมติกิน 1000 แคลอรี่ก็ต้องลดให้ได้ทั้งหมด 1000 แคลลอรี่ ขณะที่ Net Zero คือพยายามลดแต่ก็ต้องเพิ่มบางอย่าง เช่นลดคาร์บอนในองค์กร พร้อมกับปลูกต้นไม้ชดเชยจากที่ปล่อยและยังลดไม่ได้”

อย่างไรก็ตาม ความท้าทายตอนนี้คือ คนที่มีเงินสามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่น โลกร้อนก็เปลี่ยนไปใช้ EV หรือเปลี่ยนไปทำงานแบบ Work From Home ซึ่งการเปลี่ยนแปลงไม่ใช่ทุกคนที่ทำได้ เพราะทุกอย่างมีต้นทุน ภาคเกษตรไม่สามารถที่จะทำงานที่บ้านได้ นี่คือความท้าทายที่เราจะต้องพิจารณาอย่างรอบครอบ

ใช้รถอีวี เช่าหรือซื้อ เป้าหมายปลายทางเหมือนกัน 

ขณะที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายความยั่งยืนและการบริหาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ปัจจุบันภัยธรรมชาติเกิดขึ้นทั่วโลก หน้าร้อนก็ร้อนสุด อีกทั้งฝนยังตกไม่หยุด เกิดปรากฏการณ์อ่างเก็บน้ำ เขื่อนแตกเพราะถูกออกแบบมาในตอนที่โลกยังไม่ร้อน แต่ ณ วันนี้ เรามีลูกระเบิดที่พร้อมจะระเบิดกว่า 3,000 กว่าลูกในประเทศไทยเพราะอ่างเก็บน้ำ เขื่อน ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับปริมาณน้ำฝนในตอนที่โลกยังไม่ร้อน น้ำฝนมากขึ้นเท่าไหร่ โลกร้อนขึ้น น้ำแข็งละลาย ทั้งหมดคือภัยธรรมชาติ จึงอยากชวนพี่น้องร่วมชาติ ให้ตระหนักถึงปัญหาของโลกตั้งแต่ตอนนี้สิ่งแวดล้อม โลกร้อน 

นอกจากนั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา ยังได้กล่าวถึงการเปลี่ยนผ่านไปใช้รถ EV พร้อมกับยกตัวอย่างในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ขับเคลื่อนเรื่องของ Thammasat Smart City โดยนำระบบเทคโนโลยีมาสร้างคุณภาพชีวิตและสภาพแวดล้อมที่ดีภายในมหาวิทยาลัย ร่วมกับเอกชน ริเริ่มนำรถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ EV Car (Electric Vehicle) มาใช้งาน พร้อมระบบเช่าระยะสั้นหรือ Car Sharing ผ่านแอปพลิเคชันและสถานีชาร์จไฟฟ้าทั้งที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และท่าพระจันทร์ ซึ่งจะช่วยลดปริมาณรถยนต์ส่วนตัว ลดการใช้พลังงานและลดมลพิษภายในมหาวิทยาลัย เป็นอีกหนึ่งส่วนที่จะช่วยโลก ซึ่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา ยังทิ้งท้ายด้วยว่า การเปลี่ยนไปใช้ EV ไม่ว่าจะเป็นระบบเช่า หรือซื้อ สุดท้ายแล้วปลายทางมีเป้าหมายเดียวกันคือช่วยกันลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศของโลก 

โลกร้อนไม่ใช่แค่การลดปล่อยก๊าซ


แต่เสี่ยงถึงปัญหาสังคมและการอพยพถิ่นฐาน

ต่อมาในเวที Forum 1 ได้มีการให้ข้อมูลถึงการเตรียมตัวและการปรับตัวของภาคธุรกิจ โดย คุณอาทิตย์ กริชพิพรรธ CEO & Founder บริษัท เอ แอ๊ดไวซอรี่ จำกัด กล่าวว่า ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือโลกร้อน มาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตอนนี้เมืองไทยเรามีประชากรมากกว่า 60 ล้านคนเมื่อเทียบกับสัดส่วนคนทั้งโลก ประเทศไทยมีการปล่อยก๊าซแค่ 1% ดังนั้น ต่อให้เราพยายามที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลงครึ่งหนึ่ง แต่เมื่อเทียบกับสัดส่วนทั้งโลกไทยมีส่วนลดได้ 0.5% ซึ่งจำนวนนี้แทบไม่มีผลอะไร แต่ก็ยังดีกว่าไม่ได้ทำ แต่ทั้งนี้ เรื่องโลกร้อนไม่ใช่แค่การร่วมกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพียงอย่างเดียว คนทั้งโลกเสี่ยงที่จะเผชิญปัญหาสังคมด้านอื่น ๆ ตลอดจนกระทบเศรษฐกิจ เช่น ความยากจน ความขัดแย้ง สงคราม ความตึงเครียดในองค์กร การขาดแคลนทรัพยากร ขาดแคลนอาหาร เกิดโรคภัยไข้เจ็บ


“โลกอาจเผชิญการแย่งชิงทรัพยากรบนแผ่นดิน ทั้งการหาดินเพาะปลูก น้ำสำหรับใช้เพื่อทำการเกษตร ผลผลิตการเกษตรน้อยลง สัตว์น้อยลงเรื่อย ๆ และที่สำคัญอาจนำมาสู่คนจำนวนไม่น้อยอยู่ในพื้นที่เดิมไม่ได้ เกิดการเคลื่อนย้านอพยพออกนอกประเทศของตนเอง เพื่อชีวิตที่ดีกว่าและการอพยพของคนจะเกิดขึ้นทั่วโลก” 

คุณอาทิตย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัทควรมีการประเมินความเสี่ยง โดยสิ่งที่ต้องมองมี 2 เรื่องคือ 1.ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 2.ดูผลกระทบที่จะเกิดขึ้น มีอะไรบ้างที่รับได้ไม่ได้ ก็ต้องไปหาทางแก้ไข 

ขณะที่ คุณวิวัฒน์ โฆษิตสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอดวานซ์ เอ็นเนอร์ยี่ พลัส จำกัด กล่าวเสริมว่า ทุกธุรกิจ ทุกองค์กรต้องประเมินความเสี่ยง เรื่องโลกร้อน ว่าธุรกิจจะพบเจออะไร และจะมีมาตรการแก้ไขอย่างไร เพราะแต่ละธุรกิจจะได้รับผลกระทบต่างกัน เช่น ธุรกิจโรงไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์ วันดีคืนดี ไม่เคยโดนน้ำท่วม ก็กลับท่วม ดังนั้นต้องประเมินว่าธุรกิจโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ ต้องหาแนวทางป้องกันด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำคือใส่เงินลงทุนเข้าไป ดูความยืดหยุ่น หรือซื้อประกัน หรือแม้แต่ธุรกิจ หรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับทางการเกษตร ถ้าอากาศเปลี่ยน ผลผลิตก็เปลี่ยน เช่น สวนมะพร้าว ตอนนี้น้ำมะพร้าวราคาแพงขึ้นเท่าตัว ดังนั้นธุรกิจที่ต้องใช้น้ำมะพร้าวกระทบแน่นอน 

ตอนนี้ถ้าดูในเรื่องของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทย มาจากภาคพลังงาน ขนส่งเป็นหลัก เป็นเรื่องจริงแต่ภาคเกษตรก็ปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมีนัยยะเหมือนกัน คิดเป็นประมาณ 10% โดยที่ครึ่งนึงมาจากการปลูกข้าว ในขณะที่ตอนนี้กระแสผู้บริโภคใส่ใจเรื่องโลกร้อนมากขึ้น แม้ว่าข้าวไทยจะอร่อย แต่ถ้าไม่รักษ์โลก อาจจะเกิดการต่อรองราคา ดังนั้นจึงเป็นความกดดันที่เกษตรกรต้องปรับวิถีการเพาะปลูก ซึ่งตอนนี้รัฐ-เอกชน ก็มีแนวทางต่างๆ ออกมาเกี่ยวกับการปลูกข้าวลดโลกร้อน 

“ใครทำตัว High Carbon จะอยู่ยาก ถ้าเป็นภาคธุรกิจไม่มีคนอยากทำงานด้วย หนึ่งในนั้นคือธนาคาร ที่ต้องปล่อยกู้ ดังนั้รนธุรกิจต้องรายงานการปล่อยคาร์บอนไปจนถึงซัพพลายเชน หากธนาคารจำเป็นต้องปล่อยกู้กับธุรกิจปล่อยคาร์บอนสูง อาจจะใช้คำว่า ขอดูแลพิเศษ หรือชาร์ตดอกเบี้ยแพงขึ้น ด้วยการช่วยหามาตรการในการกำจัด คาร์บอน”

ธุรกิจต้องจัดลำดับความสำคัญ

อย่างไรก็ตาม คุณวิวัฒน์ กล่าวอีกว่า สิ่งที่ธุรกิจต้องเริ่มทำคือจัดลำดับความสำคัญ เริ่มจากสำรวจตนเองก่อนว่าปล่อยคาร์บอนมากน้อยแค่ไหน ส่วนไหนปล่อยปริมาณมาก เพราะในอนาคตเราจะถูกบังคับให้ปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์แน่นอน จากที่ใช้เชื้อเพลิง ก็ต้องเปลี่ยนไปใช้ EV ให้ได้ และที่สำคัญคือ สโคป 3 จะถูกถามถึงการปล่อยคาร์บอนในองค์กร (Carbon Footprint for Organization : CFO) และการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Product: CFP) ในอนาคต ต่อไปนี้ลูกค้าบริษัทใหญ่จากเดิมเทียบคุณภาพการใช้งาน ราคา แต่จะถามค่า CFP? ฝ่ายจัดซื้อก็จะเลือกสินค้าที่ค่า CFP ต่ำ เป็นต้น 

“เราต้องศึกษากติกาโลก ตอนนี้สหภาพยุโรปมีมาตรการ CBAM สหรัฐอเมริกามีมาตรการ CCA เกี่ยวข้องกับการส่งออกสินค้า และมีรายงานว่าจีน ญี่ปุ่นก็กำลังจะมีมาตรการลักษณะนี้ออกมาเช่นกัน ดังนั้นขั้นแรก ก็ต้องดูกฏหมายคู่ค้าด้วย” 

เทคโนโลยีดักจับคาร์บอน ความหวังกอบกู้โลก 

ไม่เพียงเท่านี้ ภายในฟอรั่มยังได้มีการเสวนาถึงเทคโนโลยีพลังงานสะอาด ที่จะนำประเทศไปสู่เป้าหมาย Net Zero โดย คุณบัญชา ยาทิพย์ ที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่งจำกัด (มหาชน) และคุณธีรศิลป์ ชมแก้ว ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัทไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) โดยสรุปว่า ตอนนี้พลังงานสะอาดที่เข้ามามีเรื่องของไฮโดรเจน ไม่เท่านั้นยังมีเทคโนโลยีการดักจับและการจัดเก็บคาร์บอน Carbon Capture and Storage หรือ CCS ที่เป็นความหวังของโลก ซึ่งจะต้องมีการพัฒนาใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ รวมถึงวางแผน ศึกษาการดักจับ และการขนส่งคาร์บอน รวมถึงหาพื้นที่ที่เหมาะสมในการกักเก็บส่งไปยังหลุมขุดเจาะ ดังนั้นจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ ผลักดันจากหลายๆ ภาคส่วน ต้องสนับสนุนกัน เนื่องจากเงินลงทุนในเรื่อง CCS ค่อนข้างสูง หรือประมาณ 1000-2000 เหรียญสหรัฐ ตลอดจนเรื่องกฏหมาย การวางท่อ ก็มีส่วนเกี่ยวข้องฯลฯ 

พัฒนาโซล่าเซลล์เชิงพาณิชย์ 

อีกหนึ่งเทคโนโลยี พลังงานสะอาด คือโซล่าฟาร์ม ดร.อลิษา กุญชรยาคง กรรมการและผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงการเริ่มโซล่าฟาร์มเชิงพาณิชย์ ว่า ย้อนกลับไปปี 2007 รัฐบาลไทยเห็นความสำคัญการลดโลกร้อน และประกาศนโยบายรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดจากภาคเอกชน พอนโยบายภาครัฐออกมา ในฐานะเอกชน ก็ต้องเอานโยบายภาครัฐเข้าสู่โมเดลธุรกิจ ว่าคุ้มทุนหรือไม่ ในส่วนของโซล่าสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (Power Purchase Agreement หรือ PPA) สำคัญมากถ้าไม่มี ต่อให้ลงทุน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เทคนิคนครสวรรค์รับการประเมินเพื่อรับรางวัลสถานศึกษาอาชีวศึกษาพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2666

วช. มุ่งเป้าใช้งานวิจัยและนวัตกรรม รุกแผนลดอุบัติเหตุทางถนน

สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิและสถาบันในเครือสารสาสน์ ฉลองครบรอบ 60 ปี จัดงานประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 2 พร้อมกิจกรรมจิตอาสาทั่วประเทศ