วช. มอบ นวัตกรรมทวารเทียมจากยางพารา สำหรับผู้ป่วยขับถ่ายทางหน้าท้องให้ รพ.ยะลา 1,000 ชุด

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 
ส่งมอบ “ชุดอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียมจากยางพารา เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก” ผลงานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก วช. ให้แก่ โรงพยาบาลยะลา 1,000 ชุด เพื่อรับมือผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือผู้ประสบอุบัติเหตุทางช่องท้องที่ต้องขับถ่ายอุจจาระทางรูเปิดของลำไส้ที่ผนังหน้าท้อง ซึ่งไม่มีหูรูด การมอบให้ครั้งนี้ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ 
นายธีรวัฒน์ บุญสม ผู้อำนวยการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในพิธีส่งมอบ เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2566 โดยมี แพทย์หญิงนิตยา ภูวนานนท์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลยะลา เป็นผู้รับมอบฯ และ ผศ.นพ.วรวิทย์ วาณิชย์สุวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์ ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวต้อนรับ ณ โรงพยาบาลยะลา ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา โดยมี คณะ ผู้ทรงคุณวุฒิ วช. บุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลยะลา ให้เกียรติร่วมงาน
นายธีรวัฒน์ บุญสม กล่าวว่า วช. เป็นหน่วยงานบริหารจัดการทุนวิจัย และนวัตกรรมของประเทศ ได้เล็งเห็นปัญหาและความจําเป็นที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย จึงได้ทําการสนับสนุนโครงการ “ชุดอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่าย จากทวารเทียมจากยางพารา เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐาน ราก” ให้กับ สถาบันวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ดําเนินงานที่ผ่านมาสามารถพัฒนาต่อยอด และแก้ปัญหาความขาดแคลน ทําให้ผู้ป่วยที่เดือดร้อนจากการเจ็บป่วย สามารถเข้าถึงบริการอย่างเท่าเทียมกัน เพิ่มคุณภาพชีวิต และลดช่องว่างทางสังคมและฐานะของผู้รับบริการ เนื่องจากปัจจุบันชุดอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายทวารเทียมได้ มีการใช้วัสดุจากยางพาราภายในประเทศ จึงสามารถลดต้นทุนการผลิต ลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ และ สร้างความมั่นคงได้ในระยะยาว อีกทั้งยังได้มีการพัฒนา รูปแบบของชุดอุปกรณ์ให้เหมาะกับผิวและผนังหน้าท้อง ของคนไทย จนสามารถจดสิทธิบัตรสูตรยางพาราดังกล่าว และอนุสิทธิบัตรการออกแบบอุปกรณ์ทวารเทียมได้ อีกด้วย
แพทย์หญิงนิตยา ภูวนานนท์ เปิดเผยว่า ชุดอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายทวารเทียมจากยางพารา ที่ได้รับมอบจาก วช. ถือเป็นผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ที่มีความจําเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากโรคมะเร็งลําไส้ใหญ่พบบ่อยติดอันดับหนึ่งในห้าของโรคมะเร็งที่พบมากในคนไทย และมีแนวโน้มว่าจะมี จํานวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นทุกปี ผู้ป่วยหลายรายมีความ พิการบางอย่างติดตามมา โดยเฉพาะการมีทวารเทียม ทําให้ผู้ป่วยจะต้องขับถ่ายอุจจาระทางรูเปิดของลําไส้
 ที่ผนังหน้าท้องซึ่งไม่มีหูรูดเหมือนทวารหนัก ดังนั้นจะมี ของเสียไหลทั้งอุจจาระและผายลมออกมาได้ตลอดเวลา จึงมีความจําเป็นต้องใช้ชุดอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจาก ทวารเทียมตลอดเวลา ซึ่งปัญหาสําคัญของการใช้ชุดอุปกรณ์ รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียมนี้ คือ ความขาดแคลน ไม่สามารถเข้าถึงบริการของชุดอุปกรณ์ที่มีจํานวนจํากัดและราคาสูง
ผศ.นพ.วรวิทย์ วาณิชย์สุวรรณ กล่าวถึงการคิดค้นชุดอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียม 
เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีการตัดลำไส้ทิ้ง เนื่องจากภาวะการเป็นมะเร็งลำไส้ ทำให้ไม่สามารถขับถ่ายทางทวารหนักตามปกติได้ โดยนำเอาผลผลิตของยางพารา ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของภาคใต้มาประยุกต์ใช้ จนเป็นผลสำเร็จ ทำให้สามารถลดต้นทุนในการสั่งซื้อชุดทวารเทียมจากต่างประเทศ และช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางพารา แต่ยังคงคุณภาพและประสิทธิภาพที่ได้มาตรฐานและเทียบเท่าชุดอุปกรณ์ทวารเทียมจากต่างประเทศ
จุดเด่นของชุดอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียม ที่ผลิตโดยยางพาราไทย คือไม่ระคายเคืองผิวหนัง แป้นติดผิวหนังและถุงรองรับสิ่งขับถ่ายที่มีน้ำหนักเบา ยึดติดผิวหนังได้ดี สามารถปรับรูปร่างตามหน้าท้องได้ อีกทั้งยังสามารถรับน้ำหนักได้ถึง 0.5 กิโลกรัม เม็ดพลาสติกเกรดพิเศษและผลิตด้วยกระบวนการเป่าฟิล์มแบบหลายชั้น ไม่เกิดการรั่วซึม ทำให้ไม่มีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์เล็ดลอดออกมาได้ ลดปัญหาความขาดแคลนและการนำเข้าจากต่างประเทศได้ ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ได้รับเครื่องหมายมาตรฐาน อย. เครื่องหมายฮาลาล และเครื่องหมายมาตรฐานตาลีบัน เป็นที่เรียบร้อยแล้ว 
นอกจากการมอบชุดอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียมจากยางพาราแลัว ในช่วงเช้าที่ผ่านมา ได้มีการบรรยายความรู้ เรื่อง "ชุดอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียมจากยางพาราเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก" โดย นางสาวจันทร์ฉาย แซ่ตั้ง พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา และ การบรรยายองค์ความรู้ "การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยนวัตกรรมไทย" จาก ผศ.นพ.วรวิทย์ วาณิชย์สุวรรณ ส่วนช่วงบ่าย ได้มีการเสวนา เรื่อง "พัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยนวัตกรรมไทย ชุดอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียมจากยางพารา" ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ รวมถึงการเข้าสู่บัญชีนวัตกรรมไทย และการนำไปใช้ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  อีกด้วย


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เทคนิคนครสวรรค์รับการประเมินเพื่อรับรางวัลสถานศึกษาอาชีวศึกษาพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2666

วช. มุ่งเป้าใช้งานวิจัยและนวัตกรรม รุกแผนลดอุบัติเหตุทางถนน

สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิและสถาบันในเครือสารสาสน์ ฉลองครบรอบ 60 ปี จัดงานประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 2 พร้อมกิจกรรมจิตอาสาทั่วประเทศ