บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2023

RICHMOND HOSPITALITY GROUP แถลงข่าวถือลิขสิทธิ์ การจัดการแข่งขันฟุตบอลเยาวชน "TAR ASIA QUALIFIERS 2023" แต่เพียงผู้เดียวในทวีปเอเชีย

รูปภาพ
TAR ASIA ผู้บริหารกลุ่มบริษัท Richmond Hospitality Group และโรงแรม Grand Richmond Hotel ได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้ได้รับลิขสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในทวีปเอเชียในการจัดการแข่งขันฟุตบอลเยาวชน TAR ASIA QUALIFIERS 2023 การแข่งขันฟุตบอลเยาวชน TAR ASIA QUALIFIERS 2023  มีวัตถุประสงค์จัดขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริม สนับสนุน และเปิดโอกาสให้เยาวชนที่มีความฝันและความสามารถทางด้านกีฬาฟุตบอลทั้งในประเทศไทย และในภูมิภาคเอเชีย ได้มีโอกาสพัฒนาฝีเท้า และเสริมสร้างประสบการณ์การแข่งขันในระดับนานาชาติ และเพื่อเป็นการคัดเลือกตัวแทนจากทวีปเอเชียเข้าร่วมการแข่งขัน TAR U11 Promises  ณ เมืองบาร์เซโลน่า ประเทศสเปน ในเดือนเมษายน 2567 ซึ่งจะเป็นโอกาสของนักฟุตบอลเยาวชนจากภูมิภาคเอเชียที่จะได้มีโอกาสประลองฝีเท้ากับทีมเยาวชนชั้นนำใน LALIGA ประเทศสเปน เช่น F.C. Barcelona, Real Madrid, Sevilla, Real Betis และยอดทีมเยาวชนอื่นๆจากทั่วทวีปยุโรป ซึ่งการแข่งขันในครั้งนี้ยังถือเป็นเวทีในการสร้างสัมพันธภาพ การเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ วัฒนธรรมและการสร้างเครือข่ายพันธมิตรของ

ทีมนักประดิษฐ์ นักวิจัยไทยคว้ารางวัลจากเวที “The International Trade Fair-Ideas, Inventions and New Products” ณ เมืองนูเรมเบิร์ก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

รูปภาพ
ทีมนักประดิษฐ์นักวิจัยไทยสร้างชื่อเสียงและความภาคภูมิใจให้กับประเทศไทยอีกครั้ง ในการคว้ารางวัลจากเวทีประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติ “The International Trade Fair-Ideas, Inventions and New Products” (iENA 2023) เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2566 ณ Exhibition Centre Nuremberg เมืองนูเรมเบิร์ก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นำทีมนักประดิษฐ์นักวิจัยไทย คว้ารางวัลในเวที iENA 2023 ในระดับเหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญบรอนซ์ พร้อมด้วย Special Prize  จากองค์กรนานาชาติ  โดยส่วนหนึ่งของผลงานที่ได้รับรางวัล ในระดับเหรียญทอง ได้แก่ -ผลงานเรื่อง “เครื่องคัดกรองประเมินความเสี่ยงผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนแบบพกพาด้วยแสงความยาวคลื่นช่วงใกล้อินฟราเรดเพิ่มประสิทธิภาพด้วยปัญญาประดิษฐ์ (เวอร์ชั่น 2)” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อนรรฆ ขันธะชวนะ และคณะ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี -ผลงานเรื่อง “เครื่องช่วยขึ้น-ลงที่สูงสำหรับช่างสาย” โดย นายคมกฤษ ศรีสุดา และคณะ จาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย -ผลง

วช. นำคณะนักประดิษฐ์ไทยเข้าร่วมประกวดในเวทีระดับนานาชาติ “The International Trade Fair-Ideas, Inventions and New Products” ณ เมืองนูเรมเบิร์ก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

รูปภาพ
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นำคณะนักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยนำผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมเข้าร่วมประกวดและจัดแสดงในงาน The International Trade Fair-Ideas, Inventions and New Products” (iENA 2023) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 – 30 ตุลาคม 2566 ณ Exhibition Centre Nuremberg เมืองนูเรมเบิร์ก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี iENA เป็นเวทีการประกวดและนำเสนอผลงานของนักประดิษฐ์จากประเทศต่างๆ ซึ่งจัดขึ้นภายใต้การสนับสนุนของ AFAG Messen und Ausstellungen GmbH ในงานดังกล่าวมีผลงานประดิษฐ์คิดค้นจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน มหาวิทยาลัย สถาบันต่างๆ นักวิจัย และนักประดิษฐ์อิสระจากประเทศเยอรมนีและต่างประเทศ เข้าร่วมประกวดและจัดแสดง จำนวนกว่า 800 ผลงาน จากองค์กรประเทศต่างๆ กว่า 30 ประเทศ อาทิ สาธารณรัฐแคเมอรูน สาธารณรัฐโครเอเชีย ราชอาณาจักรกรีซ บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา สาธารณรัฐฝรั่งเศส และประเทศไทย โดย วช. เป็นหน่วยงานกลางของไทย (Exclusive Agency) ในการคัดกรองผลงาน เพื่อเข้าร่วมนำเสนอและประกวดในเวที iENA   สำหรับวันแรกของการจัดงาน ด

วช. ร่วมกับ ศูนย์วิจัยแห่งชาติด้านแผ่นดินไหว จัดสัมมนา “งานวิจัยแผ่นดินไหวของประเทศไทย ครั้งที่ 1”

รูปภาพ
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ ศูนย์วิจัยแห่งชาติด้านแผ่นดินไหว จัดการประชุมสัมมนา “งานวิจัยแผ่นดินไหวของประเทศไทย ครั้งที่ 1” (The 1st Thailand Symposium on Earthquake Research) ระหว่างวันที่ 24-25 ตุลาคม 2566 โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานเปิดงาน และมี  ศาสตราจารย์ ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยแห่งชาติด้านแผ่นดินไหว คณะกรรมการกำกับและติดตามการพัฒนาศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ (Hub of Talents) และศูนย์กลางด้านความรู้ (Hub of Knowledge) ด้านภัยพิบัติแผ่นดินไหว และ นายวรวุฒิ ตันติวนิช นายสุวิทย์ โคสุวรรณ พลอากาศเอกสมนึก สวัสดิ์ถึก ดร.ธนู หาญพัฒนพานิชย์ รองศาสตราจารย์ ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ปัญญา จารุศิริ ผู้ทรงคุณวุฒิ วช. วิทยากร ผู้แทนหน่วยงานต่าง ๆ เข้าร่วมในพิธีเปิดงาน ณ สามย่านมิตรทาวน์ฮอลล์ ห้องประชุมชั้น 5 ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. มีการดำเนินการส่งเสร

อว. มอบผลงานวิจัยและนวัตกรรม Go Green แก่ สธ. และ กต. ในงานครบรอบ 64 ปี วช. เพื่อรับมือปัญหา PM2.5

รูปภาพ
เมื่อวันที่ 26 ต.ค. นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานในพิธีมอบผลงานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อการใช้ประโยชน์ด้าน Go Green  โดยมอบนวัตกรรมเครื่องตรวจวัดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศด้วยระบบเซนเซอร์ (DustBoy) ให้แก่ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และมอบนวัตกรรมสวนบำบัดฝุ่น ให้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เนื่องในโอกาสสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ครบรอบ 64 ปี ซึ่งทั้ง 2 ผลงาน เป็นผลงานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก วช. ณ โถงชั้น 1 อาคาร สวทช. (โยธี) กระทรวง อว. กรุงเทพมหานคร นางสาวศุภมาส กล่าวว่า อว. ขอแสดงความยินดี กับ วช. เนื่องในโอกาสครบรอบ 64 ปี วช. กระทรวง อว. มีความเชื่อมั่นว่า วช. จะมุ่งมั่นพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม องค์ความรู้ เทคโนโลยี กลไก ที่สามารถตอบสนองความท้าทายเร่งด่วนของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นทางมิติสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาเป้าหมายที่ยั่งยืน อันจะนำไปสู่สุขภาพ คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อมที่ดี แก่ประชาชน ทั้งนี้ กระทรวง  อว. ให้ความสำคัญ ในการพัฒนางานวิจัยและนวัตก

สำนักงานพาณิชย์จังหวัดกลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล” เร่งผลักดันสินค้าGI เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ

รูปภาพ
สำนักงานงานพาณิชย์จังหวัดกลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล โดยสำนักงานพาณิชย์จังหวัดปทุมธานี กำหนดการจัดงาน Smart Central GI นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ กิจกรรมประชาสัมพันธ์สินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) และ งานแสดงและจำหน่ายสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) และสินค้าที่มีศักยภาพของกลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 25 - 29 ตุลาคม 2566 ลานโปรโมชั่น ชั้น 1 ศูนย์การค้า เจเจ มอลล์ จตุจักร กรุงเทพฯ วัตถุประสงค์มีดังนี้ 1. เพื่อประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้สินค้าสิ่งบ่งขี้ทางภูมิศาสตร์ (G) ในกลุ่มจังหวัดภาคกลาง ปริมณฑลและจังหวัด ใกล้เคียง ให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย 2. เพื่อสร้างโอกาสทางการตลาดและช่องทางการค้าให้กับผู้ประกอบการ เกิดการเชื่อมโยงกับภาคการตลาด เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เพิ่มมูลค่าการค้าให้กับสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ 3. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร ผู้ประกอบการ สินค้าอัตลักษณ์ สินค้าเด่น และสินค้าชุมชน เข้าสู่ระบบเกษตรเชิงพาณิชย์ ร่วมจับคู่เจรจาธุรกิจกับผู้ประกอบ

วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา จับมือ MocMocTV ระเบิดศึกอีสปอร์ต MocMoc x SSRU ROV & Free Fire Tournament 2023 ระหว่างวันที่ 27-28 ต.ค.นี้

รูปภาพ
ผศ.ดร.ชลภัสสรณ์ สิทธิวรงค์ชัย คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา เปิดเผยว่า วิทยาลัยร่วมกับมอคมอคทีวี (MocmocTV) จัดการแข่งขันอีสปอร์ตรายการ MocMoc x SSRU ROV & Free Fire Tournament 2023 ขึ้นระหว่างวันที่ 27-28 ต.ค.นี้ ที่ชั้น 4 อาคารอเนกประสงค์ กองพัฒนานักศึกษา ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา เขตดุสิต กทม. สำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดการแข่งขันรายการนี้ขึ้น เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์องค์ความรู้ ประสบการณ์และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับอีสปอร์ตแก่นักศึกษา นักเรียน ครูและผู้ปกครอง และเพื่อฝึกฝนเชิงปฏิบัติการให้เกิดการเรียนรู้ในการทำงานจริงของนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการอีสปอร์ต ที่มีเปิดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในความรู้ด้านการจัดกิจกรรมการแข่งขันจริง การแข่งขันจะแบ่งออกเป็น 2 วันคือ วันศุกร์ที่ 27 ต.ค. จะเป็นการแข่งขัน ROV รอบออนไลน์ เริ่มตั้งแต่รอบ 32 ทีมสุดท้ายไปจนถึงรอบชิงชนะเลิศ ส่วนวันเสาร์ที่ 28 ต.ค. เป็นการแข่งขัน Free Fire ตั้งแต่รอบ 48 ทีมสุดท้ายไปจนถึงรอบชิงชนะเลิศ โดยทั้ง 2 วัน จะเริ่มตั้งแต่เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป จ

วช. จัดงานครบรอบ 64 ปี สร้างองค์ความรู้ เชิดชูเกียรตินักวิจัย พัฒนาประเทศไทย ด้วยวิจัยและนวัตกรรม ชูบทบาท หน่วยงานหลักในการบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ

รูปภาพ
วันที่ 24 ตุลาคม 2566 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดงานเนื่องในโอกาสที่ วช. ครบรอบ 64 ปี ภายใต้แนวคิด “64 ปี วช. สร้างองค์ความรู้ เชิดชูเกียรตินักวิจัย พัฒนาประเทศไทย ด้วยวิจัยและ นวัตกรรม” โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อํานวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีเปิดงาน โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหาร จากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมพิธีเปิดเป็นจำนวนมาก  การจัดกิจกรรมครั้งนี้ เพื่อเผยแพร่บทบาทภารกิจ และหน้าที่ ของ วช. รวมถึงนําเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีศักยภาพ เพื่อส่งเสริมให้ภาคประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับการใช้ประโยชน์จากการวิจัยและนวัตกรรมได้เล็งเห็นถึงบทบาทและความสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาให้มีการนํางานวิจัย ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ที่ วช. ปฏิบัติมาตลอดระยะเวลา 64 ปี โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24 - 26 ตุลาคม 2566 ณ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ