กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงเปิดงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2566และพระราชทานรางวัลเชิดชูเกียรตินักวิจัยไทย

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 (Thailand Research Expo 2023) ครั้งที่ 18 จัดโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 
ร่วมกับ หน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยมี ศ.พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรี ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ผู้บริหารวช. และผู้ทรงคุณวุฒิ วช. เฝ้ารับเสด็จฯ ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ
ในการนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรางวัลถ้วยรางวัล ให้กับนักวิจัยที่ได้รับรางวัลประเภท Platinum Award จำนวน 2 รางวัล ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.โฆษิต ศรีภูธร และ ศ. ดร.ธนะเศรษฐ์ ง้าวหิรัญพัฒน์  และ พระราชทานเกียรติบัตร ให้แก่นักวิจัยศักยภาพสูง จำนวน 3 รางวัล ได้แก่ ศ.(พิเศษ) ดร.เดวิด จอห์น รูฟโฟโล  ศ.เกียรติคุณ ดร.โกวิท พัฒนปัญญาสัตย์ และ ดร.กัลยาณ์ ศรีธัญญลักษณา-แดงติ๊บ นักวิจัยศักยภาพสูง วช.ประจำปี 2556 จำนวน 3 รางวัล ได้แก่ 
ศ. ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ    ศ.นพ.วิศิษฎ์ ทองบุญกิด และ รศ. ดร.ครศร ศรีกุลนาถ  ศาสตราจารย์วิจัยดีเด่นวช. ประจำปี 2566 จำนวน 2 รางวัล  ได้แก่ ศ. ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร ศ.(เชี่ยวชาญพิเศษ)ดร.ทันตแพทย์หญิง สิริพร ฉัตรทิพากร และ เมธีวิจัยอาวุโสประจำปี 2566 วช. จำนวน 10 รางวัล ได้แก่ ศ.เกียรติคุณ แพทย์หญิงพรรณี ปิติสุทธิธรรม รศ.ไตรรัตน์ จารุทัศน์ ดร.มาซาฮิโกะ อิซากะ. ศ.ดร.ก้องกิตติ พูสวัสดิ์ ศ.ดร.มงคล สุขวัฒนาสินิทธิ์ ศ.สัตวแพทย์หญิง ดร.รุ่งทิพย์ ชวนชื่น ศ.ดร.ศราวุธ ริมดุสิต ศ.นายสัตวแพทย์ ดร.เผด็จ ธรรมรักษ์ ศ.ดร.ศากุน บุญอิต รศ.ดร.วธนน์ วิริยสิทธาวัฒน์ เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม รวมทั้งเพื่อเชิดชูเกียรติและประกาศเกียรติคุณแก่นักวิจัยและนักประดิษฐ์ที่ได้ค้นคว้าวิจัย และคิดค้นสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ 
จากนั้น สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทอดพระเนตร นิทรรศเฉลิมพระเกียรติ นิทรรศการผลงานวิจัยและนวัตกรรม ที่นำมาจัดแสดงในปีนี้ อาทิ ผลงาน การพิสูจน์แหล่งกำเนิดอัญมณีทับทิม โดยใช้เอกลักษณ์ทางเคมีเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าอัญมณี และเครื่องประดับของไทย จาก
สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ(องค์การมหาชน)  ผลงาน “อภิวัฒน์มรดกไทย” จาก ธัชชา - วิทยสถานสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ แห่งประเทศไทย  ผลงาน “การยกระดับพริกไทยพันธุ์ปะเหลียนด้วยห่วงโซ่คุณค่าใหม่เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการในพื้นที่สู่ตลาดการแข่งขัน” จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย นิทรรศการไฮไลท์ “เกษียณมีดี” จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่   โซนงานวิจัยขายได้  โซน RUN ผลงานจากเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย โซน Research Festival นิทรรศการหนุนเศรษฐกิจชุมชน Power RI for Community Economy ฯลฯ
งาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 (Thailand Research Expo 2023) จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “ขับเคลื่อนงานวิจัย สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ สร้างไทยยั่งยืน” โดยจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 18 นอกจากจะเป็นเวทีสำคัญในการนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมจากร่วมกับ หน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศแล้ว ยังเป็นเวทีให้เยาวชนไทย ได้นำเสนอผลงานจากความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนเพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการพัฒนาผลงานให้ก้าวไปสู่เส้นทางการเป็นนักวิจัยนักประดิษฐ์ ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญ ในการพัฒนาประเทศในอนาคตต่อไป 
การจัดงานโดยปีนี้มีผลงานวิจัยและนวัตกรรม ร่วมนำเสนอผลงานกว่า 1,000 ผลงาน จากหน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศกว่า 200 หน่วยงาน  ระหว่างวันที่ 7 – 11 สิงหาคม 2566 ณ ห้อง ชั้น 22 และ 23 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เทคนิคนครสวรรค์รับการประเมินเพื่อรับรางวัลสถานศึกษาอาชีวศึกษาพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2666

วช. มุ่งเป้าใช้งานวิจัยและนวัตกรรม รุกแผนลดอุบัติเหตุทางถนน

สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิและสถาบันในเครือสารสาสน์ ฉลองครบรอบ 60 ปี จัดงานประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 2 พร้อมกิจกรรมจิตอาสาทั่วประเทศ