รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เข้าตรวจเยี่ยมการดำเนินงานศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำองค์การบริหารส่วนตำบลลำโพ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี

      นายนริศ ขำนุรักษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย  เข้าตรวจเยี่ยมการดำเนินงานศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำองค์การบริหารส่วนตำบลลำโพ อำเภอบางบัวทอง  จังหวัดนนทบุรี โดยมี นายพรพจน์ เพ็ญพาส รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ประธานกรรมการองค์การจัดการน้ำเสีย   นายอภิชัย อร่ามศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี  
นายสุรศักดิ์ จาดบุญนาค นายกองค์การบริหารส่วนตำบลลำโพ   นายสมศักดิ์ โขงรัมย์ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลลำโพ  นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่องค์การจัดการน้ำเสีย ให้การต้อนรับและนำเสนอข้อมูลการดำเนินงานของศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำองค์การบริหารส่วนตำบลลำโพ
     นายนริศ ขำนุรักษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า “กระทรวงมหาดไทย มีนโยบายให้ความสำคัญกับการดูแลสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะในพื้นที่ชุมชน โดยศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำองค์การบริหารส่วนตำบลลำโพ
 ถือว่าเป็นโครงการนำร่องการดำเนินงานบริหารจัดการน้ำเสียของท้องถิ่นที่เรียกได้ว่าสมบูรณ์แบบและครบวงจร ซึ่งศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำองค์การบริหารส่วนตำบลลำโพแห่งนี้ จะเป็นแหล่งการเรียนรู้สำหรับประชาชน เยาวชนในพื้นที่ เป็นต้นแบบของการพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียให้กับพื้นที่ชุมชนอื่นๆ 
โดยประชาชนได้มีส่วนร่วมช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมอีกทั้งยังสามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ด้านบนได้หลายรูปแบบตามที่เหมาะสมกับพื้นที่ศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำองค์การบริหารส่วนตำบลลำโพ ตั้งอยู่ที่ องค์การบริหารส่วนตำบลลำโพ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ออกแบบ ก่อสร้าง โดยองค์การจัดการน้ำเสีย กระทรวงมหาดไทย ตามข้อตกลงร่วมในการจัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียรวม ระหว่างองค์การจัดการน้ำเสีย กับ องค์การบริหารส่วนตำบลลำโพ จังหวัดนนทบุรี                  
เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2563 เริ่มเดินระบบและบริหารจัดการตั้งแต่เดือนมกราคม 2565 เป็นต้นมา มีลักษณะเป็น ระบบบำบัดน้ำเสียใต้ดิน โดยติดตั้งเครื่องจักร อุปกรณ์เพื่อทำการบำบัดน้ำเสีย ที่มีความสามารถในการบำบัดน้ำเสีย 1,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน 
และใช้พื้นที่ส่วนใต้ดินเป็นที่จัดแสดงพันธุ์ปลาน้ำจืดในรูปแบบพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ (Aquarium) รวมทั้งสามารถมองเห็นกระบวนการบำบัดน้ำเสียผ่านผนังอะคริลิคแบบใส เพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้สำหรับประชาชน และเยาวชนในพื้นที่และบริเวณใกล้เคียง จึงเป็นการพัฒนารูปแบบระบบบำบัดน้ำเสียให้อยู่ร่วมกับประชาชนได้เป็นอย่างดี และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

**********************************

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เทคนิคนครสวรรค์รับการประเมินเพื่อรับรางวัลสถานศึกษาอาชีวศึกษาพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2666

วช. มุ่งเป้าใช้งานวิจัยและนวัตกรรม รุกแผนลดอุบัติเหตุทางถนน

สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิและสถาบันในเครือสารสาสน์ ฉลองครบรอบ 60 ปี จัดงานประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 2 พร้อมกิจกรรมจิตอาสาทั่วประเทศ