เชิญปล่อยของในงาน PGS งานประชุมวิชาการสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา



สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา  ชวนมาปล่อยของในงาน PGS 2023 การประชุมวิชาการฯ ด้านดนตรีเชิงบูรณาการและนวัตศิลป์ระดับชาติ

       สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา  เชิญชวนนักศึกษาบัณฑิตศึกษาทุกท่าน ที่สนใจนำเสนอผลงานแนวความคิดล้ำ ๆ จากงานดนตรีของคุณ มาปล่อยของกันที่งาน PGS งานประชุมวิชาการสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ที่ปีนี้จะไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน ๆ ในวันที่ 5 - 9 เมษายนนี้ ที่ Bacc หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

         สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา จัดการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ด้านดนตรีเชิงบูรณาการและนวัตศิลป์ ระดับชาติ (Princess Galyani Vadhana Institute of Music Interdisciplinary Music and Innovation Graduate Symposium National : PGS) เป็นปีที่สาม เพื่อเป็นการสนับสนุนให้นักศึกษาระดับอุดมศึกษา ในสาขาดนตรีและสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้มีโอกาสนำเสนอผลงานวิจัย สร้างสรรค์ นวัตกรรม หรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางด้านดนตรี และการบูรณาการองค์ความรู้ทางด้านดนตรีกับศาสตร์ที่เกี่ยวข้องของตน ต่อสาธารณชนในประเทศ รวมทั้งเป็นการเพื่อสร้างพื้นที่ของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงวิชาการในศาสตร์ของดนตรีเชิงบูรณาการ ที่ครอบคลุมการสร้างสรรค์ในมิติต่างๆ ทางด้านดนตรี ในระดับประเทศตามระเบียบวิธีการนำเสนอผลงานวิชาการที่เป็นสากล และส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมประชุมสร้างเครือข่ายทางวิชาการ เพื่อการพัฒนาผลงานทางวิชาการต่อไปในอนาคต

            สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาดนตรีทั้งในแง่ของศาสตร์และศิลป์ และต้องการพัฒนาศักยภาพในการค้นคว้า วิจัย และสร้างความรู้ใหม่ รวมทั้งสามารถบูรณาการองค์ความรู้เพื่อสร้างสรรค์ดนตรีเชิงนวัตศิลป์ที่มีคุณค่า และสอดคล้องกับบริบทของความเปลี่ยนแปลงขององค์ความรู้ในปัจจุบัน สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา จึงริเริ่มจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติด้านดนตรี (Princess Galyani Vadhana Institute of Music International Symposium : PGVIS) ขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 เพื่อเป็นหมุดหมายสำคัญของงานวิจัยดนตรีในระดับภูมิภาคอาเซียน และระดับนานาชาติ

กำหนดการ

วันสุดท้ายของการส่งบทความ                      26 มีนาคม 66
ประกาศรายชื่อผลงานที่ได้รับคัดเลือก         31 มีนาคม 66
นำเสนอผลงาน (ออนไลน์)                           5-6 เมษายน 66

คุณลักษณะของบทความที่นำเสนอ

เป็นบทความวิจัย หรือบทความวิชาการภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ดนตรีในมิติต่าง ๆ และมีความยาว 4 - 10 หน้า A4 โดยคณะกรรมการจะคัดเลือกตามเกณฑ์มาตรฐานความรู้ในระดับปริญญาโทขึ้นไป ในรูปแบบดังนี้

1. บทความวิจัย (ตัวอย่างแบบฟอร์มบทความวิจัย) หรือ
2. บทความวิชาการ (ตัวอย่างแบบฟอร์มบทความวิชาการ)

​สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ postgrad@pgvim.ac.th

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่

https://www.pgs.pgvim.ac.th/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เทคนิคนครสวรรค์รับการประเมินเพื่อรับรางวัลสถานศึกษาอาชีวศึกษาพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2666

วช. มุ่งเป้าใช้งานวิจัยและนวัตกรรม รุกแผนลดอุบัติเหตุทางถนน

สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิและสถาบันในเครือสารสาสน์ ฉลองครบรอบ 60 ปี จัดงานประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 2 พร้อมกิจกรรมจิตอาสาทั่วประเทศ