บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม, 2022

วช. ร่วมกับ ศอ.บต. ขับเคลื่อน และ เสริมสร้างความมั่นคง ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

รูปภาพ
วันที่ 28 ธันวาคม 2565 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดการเสวนา “การขับเคลื่อน เสริมสร้าง และพัฒนาความมั่นคงด้วยงานวิจัยและนวัตกรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้” ณ ศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดยะลา โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีเปิดงานฯ ผ่าน Video Conference และ พลเรือตรี สมเกียรติ  ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหาร จังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวขอบคุณ ซึ่งงานในวันนี้จะนำไปสู่การส่งเสริมให้นักวิจัยและผู้ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมสู่การคลี่คลายปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อให้เกิดสันติสุข ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. มีนโยบายขับเคลื่อน เสริมสร้าง และพัฒนาความมั่นคงด้วยงานวิจัยและนวัตกรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการวิจัยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยการส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อใช้ประโยชน์ รวมถึงการสร้างเครือข่ายนักวิจัยเ

วช.ชู นวัตกรรมเครื่องสีเปลือกแมคคาเดเมีย พืชเศรษฐกิจสู่การแปรรูปออกสู่ตลาดโลก

รูปภาพ
วันที่ 23 ธันวาคม 2565 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ลงพื้นที่เยี่ยมชมผลสำเร็จโครงการวิจัยฯ โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ นายธีรวัฒน์ บุญสม ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม นำ นายธานินทร์ ผะเอม ผู้ทรงคุณวุฒิ วช. พร้อมด้วยสื่อมวลชน ลงพื้นที่ติดตามผลสำเร็จโครงการวิจัยฯ  ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก วช. โครงการ เรื่อง “การเพิ่มศักยภาพการผลิตและยกระดับรายได้ชุมชนด้วยนวัตกรรมเครื่องสีเปลือกแมคคาเดเมีย” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ธานี ศรีวงศ์ชัย ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร แห่ง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หัวหน้าโครงการวิจัย ได้มอบให้ นางสาวริยา ด่อนศรี ทีมนักวิจัย สถานีวิจัยเพชรบูรณ์ ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร คณะเกษตร แห่ง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลสำเร็จโครงการวิจัยฯ ในครั้งนี้ซึ่งการลงพื้นที่เพื่อการส่งเสริมการปลูกแมคคาเดเมียเพื่อเพิ่มความมั่นคงทางอาชีพให้แก่เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ นายธีรวัฒน์ บุญสม ผู้อำนวยการกองส่งเ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ขอถวายพระพร สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ โดยการบินโดรนแปรอักษร เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2565 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่

รูปภาพ
เป็นผลงานของ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวง อว. และสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ใช้โดรนจำนวน 180 ลำ ที่ออกแบบและจัดสร้างโดยคนไทย เขียนโปรแกรมควบคุมอัตโนมัติโดยฝีมือนักเรียน นิสิตนักศึกษา ที่ผ่านการฝึกอบรมจาก วช.  การแปรอักษร 1. อักษร เรารักองค์ภา 2. พระรูป เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ (ข้าง) 3. พระรูป เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ (ตรง) 4. อักษร ทรงพระเจริญ

“กตป. กสทช. ลงพื้นที่ รับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (Public Hearing) เพื่อติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านกิจการโทรคมนาคม ประจำปี 2565 ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา”

รูปภาพ
เมื่อเวลา 09.15 น.ของวันที่ 23 ธันวาคม 2565 ณ ห้องประชุมอู่ทอง โรงแรมคลาสสิค คามิโอ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทิศา รัตนวิชา กรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านกิจการโทรคมนาคม (กตป.) เป็นประธานเปิดโครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อติดตาม และประเมินผลการดำเนินการและการบริหารงานของ กสทช. สำนักงาน กสทช. และเลขาธิการ กสทช. ด้านกิจการโทรคมนาคม ประจำปี 2565 ซึ่งจัดขึ้นโดย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยมีตัวแทนจากภาครัฐและเอกชน และประชาชนทั่วไปเข้าร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็นกว่า 150 คน   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทิศา รัตนวิชา กรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านกิจการโทรคมนาคม (กตป.) กล่าวว่า กตป. มีกำหนดการลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นสาธารณะ เพื่อติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านกิจการโทรคมนาคม ประจำปี 2565 ทั้งหมด 5 จังหวัด 5 ภาค ซึ่งภาคกลาง ได้เลือกจังหวัด พระนครศรีอยุธยา โดยเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีส่วนได้เสียในด้านกิจการโทรคมนาคมแสดงความคิดเห็นในหัวข้อ 1. การจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึง 

วช. ขึ้นเหนือ จับมือ สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองฯ ถ่ายทอดเทคโนโลยีโดรนแปรอักษร วันที่ 22 - 24 ธันวาคมนี้ ที่เชียงใหม่

รูปภาพ
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ จัดกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม “การอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดเทคโนโลยีโดรนแปรอักษรเพื่อประยุกต์สู่การใช้งาน” ภาคเหนือ ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 22 – 24  ธันวาคม 2565 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเกี่ยวกับ “โดรนแปรอักษร” และการพัฒนาซอฟแวร์โดรนเพื่อนำไปประยุกต์ใช้งาน โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมฯ  โดยมี นายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล นายกสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ และ นางสาวเมลิน เชื้อมโนชาญ รักษาการแทนผู้ช่วยผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้การต้อนรับ พร้อมด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ วช. และสื่อมวลชน เข้าร่วมในพิธีเปิดการอบรมฯ วันที่ 22 ธันวาคม 2565 ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวง อว. ตระหนักถึงความสำคั

กองทุนพัฒนาสื่อฯ ชวนคนรักดนตรี ศิลปะ การแสดงพื้นบ้าน ส่งคลิปประกวดในโครงการ “ลํานําศิลป์ พื้นถิ่นไทย” ดันซอฟท์พาวเวอร์ให้ประเทศ ชิงเงินรางวัล 250,000 บาท

รูปภาพ
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้ างสรรค์ จัดโครงการ ลํานําศิลป์ พื้นถิ่นไทย ( THE MELODY OF FOLK ART)  ประกวดคลิปวีดีโอ ในหัวข้อ “ศิลปินฟื้นคุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรม ในชีวิตวิถีใหม่”  เพื่อส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรรม ในชีวิตวิถีใหม่ รวมถึงอนุรักษ์ศิลปะท้องถิ่นอั นเป็นรากฐานสำคัญและเป็ นมรดกทางวัฒนธรรมอันงดงามของไทย และเพื่อเผยแพร่ให้ทั่วโลกรู้จั กวัฒนธรรมท้องถิ่นของประเทศไทย ชิงเงินรางวัลรวม 250,000 บาท   ดร.ธนกร ศรีสุขใส  ผู้จัดการกองทุนสื่อพัฒนาสื่ อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เผยว่า กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้ างสรรค์ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มี บทบาทรณรงค์ส่งเสริม และสนับสนุนการพัฒนาสื่อปลอดภั ยและสร้างสรรค์ เล็งเห็นความสำคัญของการสร้ างซอฟท์พาวเวอร์ในประเทศไทย ซึ่งซอฟพาว์เวอร์ ที่พูดถึงนี้คือ ศิลปะการแสดงและดนตรีพื้นบ้าน ที่มีอัตลักษณ์แตกต่างกั นไปในแต่ละภูมิภาค เช่น เพลงจ๊อย เพลงซอ ในภาคเหนือ เพลงเทพทอง เพลงลำตัด ของภาคกลาง หมอลำ กันตรึม ของภาคอีสาน ลิเก ฮูลู หนังตะลุง ของภาคใต้  ที่เป็นปัจจัยสำคัญของกลไกที่ จะช่วยสร้างความเข้มแข็งในด้ านต่างๆให้กับประเทศ และต่อยอดโอ