ม.ทักษิณ ร่วมกับ พว. ลงนาม MOU พัฒนาวิชาการแบบ Active Leaning




 คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาซึ่งมีแนวคิดในการส่งเสริมการจัดการศึกษา ทั้งในระดับอุดมศึกษา และการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้วยการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning ซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินงานของสถาบันคุณภาพวิชาการ (พว.) ที่ได้วิจัยและพัฒนาแนวการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps อย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลามากกว่า 10 ปี และเกิดผลการเรียนรู้ของผู้เรียนเชิงประจักษ์อย่างน่าชื่นชม


คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ และสถาบันคุณภาพวิชาการ (พว.) จึงได้ลงนามความร่วมมือ (MOU) โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมลวรรณ วีระธรรมโม คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณและ ดร.ศักดิ์สิน โรจน์สราญรมย์ ประธานกรรมการบริหาร สถาบันคุณภาพวิชาการ (พว.) เพื่อร่วมกันในการนำแนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้ แบบ Active Learning - GPAS 5 Steps ไปขยายผลในการส่งเสริมการพัฒนากระบวนการเรียนรู้


ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ให้กับโรงเรียนทุกระดับ ทุกสังกัด โดยเฉพาะจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อเพิ่มศักยภาพทั้งครูผู้สอน และผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพสอดคล้องกับกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๕๔ วรรค ๔ การศึกษาทั้งปวงพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีวินัย ภูมิใจในชาติ สามารถเชี่ยวชาญได้ตามความถนัดของตน และมาตราที่ ๒๕๘ จ (๔) ที่กำหนดให้ ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนทุกระดับเพื่อให้ผู้เรียน สามารถเรียนได้ตามความถนัดและปรับปรุงโครงสร้างของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวโดยสอดคล้องกันทั้งในระดับชาติและระดับพื้นที่ และสอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีที่กำหนดให้ “ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 และเน้นการพัฒนาพหุปัญญาของผู้เรียน” ด้วยการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นคนดี คนเก่ง มีคุณภาพพร้อมสำหรับวิถีชีวิตในศตวรรษที่ 21 และบรรลุเป้าหมายตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา (พ.ศ. 2561 – 2565) คือ ผู้เรียนทุกกลุ่มวัยได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน มีทักษะที่จำเป็นของโลกอนาคต สามารถแก้ปัญหา ปรับตัวสื่อสาร และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิผล มีวินัยมีนิสัยใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และเป็นพลเมืองที่รับรู้บทบาทหน้าที่ มีความรับผิดชอบและมีจิตสาธารณะ

เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาประเทศ และบรรลุเป้าหมายของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แผนยุทธศาสตร์การศึกษา และแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ทั้งสององค์กรจึงได้ลงนามความร่วมมือ (MOU) ณ ห้องประชุมสถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 14.30 น -16.00 น


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เทคนิคนครสวรรค์รับการประเมินเพื่อรับรางวัลสถานศึกษาอาชีวศึกษาพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2666

วช. มุ่งเป้าใช้งานวิจัยและนวัตกรรม รุกแผนลดอุบัติเหตุทางถนน

สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิและสถาบันในเครือสารสาสน์ ฉลองครบรอบ 60 ปี จัดงานประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 2 พร้อมกิจกรรมจิตอาสาทั่วประเทศ